Thursday, January 4, 2007

Control Panel


Control Panel


Control Panel คือ ระบบควบคุมและบริหาร Website ของคุณให้มีประสิทธิภาพ และสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงการจัดการระดับ Server ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดการที่เกี่ยวกับ Domain, DNS, IP, FTP, Web Server, Email, Anti Virus, Anti Spam, PHP, MySQL, phpMyadmin, Subdoomain และอื่น ๆ อีกมากมาย
ระบบควบคุมในปัจุบันจะมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ
1. ระบบควบคุมสำหรับระบบปฎิบัติการ Windows Server ใช้สำหรับควบคุม Server ที่เป็นLicense Windows Server 2000 และ 2003 และสามารถรองรับการทำ Web Server ที่เป็นป็น ระบบPHP และ ASP รวมกันได้
2. ระบบควบคุมสำหรับระบบปฎิบัติการ Unix Server ใช้สำหรับควบคุม Server ที่เป็น Unix, Linuxที่เป็น FreeOS เช่น Redhat, Fedora, CenOS
การเลือกระบบควบคุม Server นั้นจะต้องคำนึงหลายอย่างเพราะแต่ละระบบต่างก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันมากมายควรเลือกในส่วนที่เราจำเป็นต้องใช้งานจริง ๆ และใช้งานกับระบบควบคุมกับ Serverและ Webpage ได้อย่างมีประสิทธิภาพจริง ๆ

Tuesday, December 19, 2006

คู่แข่งของ window server

Server ที่ออกมาเป็นคู่แข่งกับ Window
ลีนุกซ์

ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น
การนำลีนุกซ์มาใช้งาน
ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ Linux Software Map (LSM)
อนาคตของลีนุกซ์
ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน
เตรียมความพร้อมก่อนใช้ลีนุกซ์
ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น www.linux.org/dist/ftp.html
สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง
1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
2. จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
3 ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
4 ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
5 มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
6 ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
7 ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
8 รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
9 รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
10. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
11. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
1 IP Address
2 Net Mask
3 GateWay Address
4 Name Server Address
5 Domain Name
6 Host Name

ประเภทของ window server

Window Server

Window Server คือ Hosting ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Windows 2000 Server เป็น Hosting รองรับภาษา html, shtml, java, cgi, perl, php, asp, aspx และใช้ฐานข้อมูลที่เป็น MS Access


มีหลายประเภท เช่น

- Windows 95
Windows 95 เป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง สร้างขึ้นมาเพื่อแทน DOS และ Windows 3.1
เลข 95 บอกถึงปีที่ออกจำหน่าย (ค.ศ. 1995) ส่วน Windows 98 ออกจำหน่าย ค.ศ. 1998 เป็นเพียงการปรับปรุง Windows 95 ไม่ใช่ระบบปฏิบัติการใหม่ระบบปฏิบัติการ window 95 เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการจัดการและควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การัดการเกี่ยวกับการแสดงบนจอภาพ รับข้อมูลทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ การจัดการเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล การพิมพ์แฟ้มข้อมูล การทำสำเนาแฟ้มข้อมูล การเปลี่ยนชื่อแฟ้มข้อมูล การเก็บแฟ้มข้อมูล การติดตั้งโปรแกรม เป็นต้น
คุณสมบัติของวินโดวส์ 95
1. หน้าต่างของ วินโดวส์ 95 ได้ปรับปรุงให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้สามารถติดต่อใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย (new user interface) ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
2. วินโดวส์ 95 จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ติดตั้งใหม่และทำการกำหนดข้อมูลในระบบให้อย่างอัตโนมัติ (plug and play)
3. วินโดวส์ 95 สนับสนุนการทำงานแบบสื่อประสม โดยมีดปรแกรมจัดการเกี่ยวกับเรื่องวีดีทัศน์ (video for windows) และแฟ้มข้อมูลในแผ่นซีดี (CD-ROM file system)
4. วินโดวส์ 95 มีระบบการด้านการติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่ไม่ยุ่งยาก ระบบสนับสนุนการเชื่อมต่อสถานีปลายทางไปยังเครือข่ายต่าง ๆ รวมทั้งสามารถต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ด้วย

- Windows NT
Windows NT พัฒนาขึ้นมาต่างหากจาก Windows 95 กล่าวคือไม่ได้ใช้ Windows 95 เป็นฐาน
ถือได้ว่าเป็นระบบปฏิบัติการคนละอย่างกับ Windows 95 ถึงแม้จะมีหน้าตาเหมือนกัน มีวิธีใช้อย่างเดียวกัน คำว่า NT ย่อมาจาก New Technology เมื่อบริษัทไมโครซอฟท์คิดสร้าง OS ตระกูลนี้ขึ้นมา ก็เพราะต้องการจะแยกระหว่าง OS ที่ใช้ในสำนักงานซึ่งโยงกันเป็นเครือข่ายประเภทที่มีแม่ข่าย กับ OS ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตามบ้านซึ่งไม่เชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบ LAN ไมโครซอฟท์ตั้งใจให้ใช้ระบบปฏิบัติการนี้ในระบบเครือข่ายในวงการธุรกิจ Windows NT แบ่งเป็น Windows NT Server ใช้ในเครื่องที่เป็นแม่ข่าย และ Windows NT Client ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย เราสามารถใช้ Windows NT Client เดี่ยว ๆ แทน Windows 95/98 ก็ได้ แต่เนื่องจากต้องการทรัพยากรของเครื่องมากกว่า จึงอาจจะไม่เหมาะสม
Windows 2000 สืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้
Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 อนึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client

- Windows 2000
Windows 2000 สืบเชื้อสายจาก Windows NT ไม่ใช่จาก Windows 95/98 ก่อนที่จะมีรุ่นนี้
Windows NT พัฒนามาถึง Windows NT 4 แต่แทนที่จะเรียกรุ่นต่อไปว่า Windows NT 5 กลับเปลี่ยนชื่อเป็น Windows 2000 ใช้ปี ค.ศ. ที่ออกจำหน่ายเป็นชื่อ ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันว่า สืบเชื้อสายจาก Windows 95/98 อนึ่ง Windows 2000 ที่ใช้ในเครื่องที่เป็นลูกข่าย ใช้ชื่อว่า Windows 2000 Professional ไม่ใช่ Windows 2000 Client

- Windows server 2003
Windows server 2003 เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการในกลุ่มนี้ จะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีระบบปฎิบัติการเป็น Windows 2003 Server ของไมโครซอฟท์ (หรือ Windows 2000 Server ตามความต้องการของลูกค้า) เหมาะสำหรับลูกค้าที่มีความเชี่ยวชาญการใช้งานโปรแกรมต่างๆ บนระบบปฎิบัติการที่เป็น Windows ซึ่งสามารถจัดการได้ง่าย และใช้งานได้กับโปรแกรมที่หลากหลาย คุณสมบัติทั่วไปของบริการนี้คือ
เลือกใช้งานระบบปฏิบัติการได้ทั้ง Windows 2000 Server และ Windows 2003 Server
เว็บเซิร์ฟเวอร์เป็น IIS 5.0 หรือ IIS 6.0 + .NET Framework 1.1 หรือ 2.0 + PHP 4.x หรือ PHP 5.x ซึ่งรองรับการใช้งานได้ทุกภาษาทั้ง HTML, ASP, ASP.NET, Perl, PHP, C#, VB.NET, WML และ XML
รองรับฐานข้อมูล MS Acess, MySQL, MS SQL Server พร้อมทั้งติดตั้งระบบจัดการผ่านเว็บให้ด้วย
การควบคุมเซิร์ฟเวอร์สามารถทำได้ผ่าน Terminal Client Service (หรือ Remote Desktop Connection) ซึ่งเป็นกราฟิกโหมด เสมือนคุณอยู่ที่หน้าจอของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ทีเดียว
ติดตั้งระบบ Mail Server ทั้ง SMTP Service และ POP3 Service รวมทั้งระบบอื่นๆ อาทื DNS Server, FTP Server
ติดตั้ง ASP คอมโพเนนต์ และ PHP โมดูลต่างๆ
มีระบบป้องกันความปลอดภัย และมีระบบมอนิเตอร์ เพื่อตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง

- Windows Millennium
Windows Millennium เป็นชื่อที่ชวนให้สับสนมากที่สุด เนื่องจากคำว่า Millennium บอกถึง
สหัสวรรษใหม่ คนจำนวนมากจึงคิดว่าเป็นอีกชื่อหนึ่งของ Windows 2000 (ซึ่งเป็นผลมาจากการที่มักเข้าใจผิดกันว่าปี 2000 คือปีแรกของสหัสวรรษใหม่) แต่ที่จริง Windows Millennium คือวินโดวส์ตระกูล Windows 95/98 รุ่นสุดท้าย หลังจากนี้บริษัทไมโครซอฟท์เลิกพัฒนาวินโดวส์ตระกูลนี้

- Windows XP
Windows XP เป็นวินโดวส์รุ่นล่าสุด เป็นสายพันธุ์ Windows NT แต่เพิ่มฉบับที่สำหรับให้ใช้
ตามบ้านได้ด้วย เรียกว่า Windows XP Home Edition ซึ่งมาใช้แทนสายพันธุ์ Windows 95 Windows XP เป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ที่ออกมาให้ใช้งานกันได้ไม่นานนัก ดังนั้น ปัญหาหลัก ๆ ที่พบกันบ่อยคือ ไม่สามารถหา Driver ของอุปกรณ์บางชนิดมาลงได้ ทำให้ไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์บางตัวได้เต็มที่นัก และด้วยการที่ เป็นระบบปฏิบัติการที่ ค่อนข้างจะต้องการเครื่องที่มีความเร็วสูง ๆ สักหน่อย อย่างน้อยก็น่าจะเป็น CPU ระดับความเร็ว 1G. ขึ้นไป พร้อมกับแรมควรจะมีสัก 256 M. จึงจะน่าใช้งาน (หากสเป็คเครื่องต่ำกว่านี้ ก็สามารถใช้งานได้ แต่อาจจะรู้สึกว่าช้าไปหน่อยครับ)
ข้อดีที่เห็น ๆ คือ สามารถมองเห็นอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ ได้ค่อนข้างมากขึ้น โดยที่อาจจะไม่ต้องไปหา Driver มาลงเพิ่มเติมเลย แต่ถ้าหากเป็นอุปกรณ์ใหม่ ๆ ก็ต้องลง Driver อยู่ดีครับ นอกจากนี้ หน้าตา รูปแบบการแสดงผลที่สวยงาม นับได้ว่าเป็นจุดขายที่ดีของ Windows ตัวนี้เลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ ด้วยความที่เป็นระบบปฏิบัติการ ที่พัฒนาต่อมาจาก Windows NT จึงทำให้มีความเสถียรค่อนข้างสูง ถ้าหากไม่มีปัญหากับ hardware หรืออุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว นับได้ว่า จะมีความเสถียรมากกว่า Windows 98 หรือ Windows Me ค่อนข้างมากระบบปฏิบัติการ Windows XP ที่ออกมาจะมี 2 รุ่นคือ Windows XP Home และ Windows XP Pro ซึ่งทั้งสองรุ่นนี้ จะสามารถทำงานได้ใกล้เคียงกัน แต่รุ่นที่เป็น Windows XP Pro จะเพิ่มความสามารถของการทำงานแบบ Server ได้มากกว่ารุ่น Home

Wednesday, December 13, 2006

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ นางสาวสุพัตรา ชัยศิริ
อายุ 25 ปี
ศึกษาอยู่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
คณะ วิทยาการจัดการ
เอก คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
เบอร์โทร 085-2724339

Tuesday, December 12, 2006

ประวัติความเป็นมา window server

ประวัติความเป็นมา (History)
วินโดวส์ที่ถูกพัฒนาโดยไมโครซอฟต์ในรุ่นแรก ๆ จะใช้กับเครื่องไอบีเอ็ม และไอบีเอ็มคอมแพททิเบิล ที่มีซีพียูเบอร์ 80286 80386 และ 80486 และในปี 1990 ไมโครซอฟต์ได้ออกวินโดวส์เวอร์ชัน 3.0 ออกมา เพื่อทำการโปรโมทผู้ใช้ไม่ให้หันไปนิยมใช้แมคอินทอชโอเอสแทนดอส อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าวินโดวส์จะง่ายต่อการใช้งานมากกว่าดอส แต่ในเวอร์ชันแรก ๆ การใช้งานก็ยังไม่ง่ายเท่าของแมคโอเอส และนอกจากนี้การติดตั้งอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ก็ยังทำได้ยาก
วินโดวส์ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จากวินโดวส์เวอร์ชัน 3 มาเป็น 4.0 วินโดวส์ 95 และวินโดวส์ 98 ในปัจจุบัน วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98 ถือว่าเป็นระบบปฏิบัติการอย่างแท้จริง เนื่องจากมันไม่ต้องอยู่ภายใต้ การควบคุมของดอส การติดตั้งจะแยกออกจากดอสอย่างเด็ดขาดไม่จำเป็นต้องติดตั้งดอสก่อน นอกจากความง่ายและสะดวกต่อการใช้งานแล้ว วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังรวมซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองเข้ากับระบบเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและยังเอื้ออำนวยความสะดวกในการโอนถ่ายซอฟต์แวร์หรือที่เรียกว่าดาวน์โหลด(Download) โปรแกรมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้วินโดวส์เวอร์ชันใหม่นี้ยังมีความสามารถทางด้าน Plug–and-Play ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถนำอุปกรณ์ มาตรฐานต่าง ๆ เช่น ซีดีรอมไดรฟ์ ซาวน์การ์ด โมเด็ม ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ฯลฯ ที่สนับสนุน Plug-and-Play มาต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเอง และเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95 หรือ 98 จะทำหน้าที่ติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้และทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักอุปกรณ์เหล่านี้เอง โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม
ในปัจจุบันตลาดพีซีเกือบทั้งหมดถูกครองครองโดยระบบปฏิบัติการวินโดวส์ รวมทั้งมีการผลิตซอฟต์แวร์ที่รันอยู่บนระบบปฏิบัติการประเภทนี้ออกมาสู่ตลาดอย่างมากมาย ดังนั้นจึงมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่นิยมใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วินโดวส์ 95 และ วินโดวส์ 98
Microsoft Windows ตั้งแต่อดีต - ปัจจุบัน
ปี รายละเอียด
ตุลาคม 2524 IBM เปิดตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลครั้งแรก พร้อมด้วย

ระบบปฏิบัติการ PC-DOS 1.0 ของไมโครซอฟท์
มีนาคม 2526 ไมโครซอฟท์เปิดตัว MS-DOS 2.0 ที่สนับสนุนการใช้งาน
ฮาร์ดดิสก์และระบบจัดการไฟล์แบบใหม่

พฤศจิกายน 2526 ไมโครซอฟท์แนะนำระบบปฏิบัติการ Windows ที่ทำงานบน MS-
DOS โดยเริ่มแรกที่ใช้ชื่อว่า Interface Manager

พฤศจิกายน 2528 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows1.0

เมษายน 2530 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันเปิดตัว OS/2 1.0 ระบบปฏิบัติการ
ยุคใหม่ที่มีระบบการทำงานตามคำสั่งคอมมานต์ไลน์เหมือนกับ
DOS

ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 ที่หน้าต่าง
สามารถวางซ้อนทับกันได้ และทำงานได้กับไมโครโปรเซสเซอร์
80286 ของอินเทล

ธันวาคม 2530 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows/386 ซึ่งอาศัย
คุณสมบัติ Virtual Machine ของไมโครโปรเซสเซอร์ 80386 ซึ่ง
สามารถเรียกใช้งานโปรแกรม DOS ได้แบบหลายงานพร้อมกัน
(Multitasking)

มิถุนายน 2531 ไมโครซอฟท์จำหน่ายระบบปฏิบัติการ Windows 2.0 Version 2 มี
ชื่อว่า Windows-286

ตุลาคม 2531 IBM และไมโครซอฟท์ร่วมกันพัฒนาและออก OS/2 1.1 ซึ่งมีหน้า
ตาแบบกราฟฟิคคล้ายกับวินโดวส์ โดยมีชื่อว่า Presentation
Manager ต่อมาภายหลังภายหลังทั้งสองบริษัทได้หยุดความร่วม
มือในการพัฒนา OS/2

พฤศจิกายน 2531 เปิดตัว MS-DOS 4.1 ออกสู่ตลาด

พฤษภาคม 2533 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.0 และได้รับการ
ตอบรับอย่างดี โดยในช่วงปลายปี ไมโครซอฟท์ขยายซอฟต์แวร์
Windows ได้มากกว่า 1 ล้านชุดต่อเดือน

เมษายน 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 3.1ด้วยเทคโนโลยี
แสดงตัวอักษรแบบใหม่ และแก้ปัญหาบั๊กต่างๆ

มิถุนายน 2534 เปิดตัว MS-DOS 5.0 ออกสู่ตลาด

ตุลาคม 2534 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.1
โดยความสามารถด้านเครือข่าย

มีนาคม 2535 เปิดตัว MS-DOS 6.0 ออกสู่ตลาด

พฤษภาคม 2535 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 3.1 เวอร์ชั่นของ
สายผลิตภัณฑ์ Windows NT ซึ่งมองโดยรวมแล้วมีลักษณะคล้าย
Windows 3.1 แต่ทำงานบนเครื่อง 32 บิต

พฤศจิกายน 2536 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows for Workgroup 3.11
พร้อมกับ MS-DOS 6.2

มีนาคม 2537 เปิดตัว MS-DOS 6.21 ออกสู่ตลาด

พฤษภาคม 2537 เวอร์ชันสุดท้ายของ DOS ออกสู่ตลาด คือ MS-DOS 6.22 ด้วย
ความสามารถในการบีบอัดข้อมูลบนฮาร์ดดิสก์ DriveSpace

กันยายน 2537 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT เวอร์ชัน 2 ออกสู่
ตลาด (Windows NT 3.5)

มิถุนายน 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT3.51

สิงหาคม 2538 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 (Windows 4.0)
ออกสู่ตลาด ด้วยความสำเร็จสูงสุดในประวัติศาสตร์ของ
อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ Windows 95 สนับสนุนชื่อไฟล์แบบยาว
แอพพลิเคชัน 32 บิต และมีคุณสมบัติ Plug and Play พร้อมกับหน้า
จออินเทอร์เฟซใหม่ ที่มีการใช้ปุ่ม Start Menu เป็นครั้งแรก

กรกฎาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows NT 4.0 ซึ่งมีหน้าจอ
อินเทอร์เฟซแบบเดียวกับ Windows 95 และเป็นระบบปฏิบัติการสาย
NT ตัวแรกที่ประสบผลสำเร็จ

ตุลาคม 2539 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ OEM Service Release 2 ของ
Windows 95 หรือที่เรียกว่า OSR2 และเป็นผลิตภัณฑ์ตัวแรกของ
Windows 95 ที่สนับสนุนการใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32

มิถุนายน 2540 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 95 OSR2.1 ซึ่งสนับ
สนุนตัวประมวลผลทางด้านกราฟฟิค AGP และพอร์ต USB

มิถุนายน 2541 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 ออกสู่ตลาด พร้อม
ด้วย Internet Explorer 4.0 ไดร์เวอร์ฮาร์แวร์ใหม่ ระบบจัดการพลังงาน
ด้วย ACPI นับเป็นวินโดวส์อีกรุ่นที่ประสบความสำเร็จ

พฤษภาคม 2542 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 98 Second Edition (SE)
ออกสู่ตลาด พร้อมด้วย Internet Explorer 5.0 และ Internet Connection
Sharing (ICS)

กุมภาพันธุ์ 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 2000 (Windows NT
5.0) โดยสนับสนุนคุณสมบัติ Plug and Play, DirectX, USB และ
เทคโนโลยีอื่นๆ ที่มีอยู่ใน Windows 9x

กันยายน 2543 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Millenium Edition (Me)
ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายในสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x

ตุลาคม 2544 ไมโครซอฟท์เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows eXPerience หรือ
Windows XP ซึ่งถือเป็นผลิตภัณฑ์ที่รวมสายผลิตภัณฑ์ Windows 9x
และWindows NT/2000 เข้าไว้ด้วยกัน และสนับสนุนงานทางด้าน
Multimedia